อุทยานการศึกษา

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา
อุทยานการศึกษา
ตามแนวคิด ดร. โกวิท วรพิพัฒน์
"คิดเป็น มาจากแนวคิดที่ว่า ธรรมชาติของมนุษย์ ทุกคนต้องการความสุข คนคิดเป็นจะสามารถดำรงชีวิต ให้พบความสุขได้"
ในเมืองไทยเรามีครู -อาจารย์ ผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่านชอบสอนเพื่อนครูด้วยกันเองและลูกศิษย์ลูกหาว่า ครูมี 2 ประเภท คือ "ครูที่พูดได้" และ "ครูที่พูดไม่ได้"
ส่วน "ครูที่พูดไม่ได้" คนจะไม่ค่อยรู้จัก แต่กล่าวกันว่า ครูที่พูดไม่ได้ สอนเราไม่น้อยกว่า ครูที่พูดได้ ครูที่พูดไม่ได้ แท้จริงคือสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเรานั่นเอง หากสิ่งแวดล้อมสะอาด ร่มรื่น สดชื่นแจ่มใสเป็นกันเอง เราก็จะสบายใจ สะอาด ร่มรื่น แจ่มใส และจิตใจดี หน้าตาก็พลอยแจ่มใสไปด้วย โบราณมีคำภาษิตที่กล่าวถึงอิทธิพลของครูที่พูดไม่เป็นจำนวนมาก เช่น คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล หรืออยู่กับโจรมักเป็นโจร อยู่กับบัณฑิตมักเป็นบัณฑิต


วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ครู อาจารย์ ภิกษุ สามเณรชุมชน องค์กรทั้งฝ่ายเอกชนและราชการได้ร่วมกันพัฒนาโรงเรียน สถาบัน การศึกษา วัด ฯลฯ เป็นอุทยานการศึกษา
- เพื่อให้นักเรียน ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง เห็นว่า ความดีงาม ความสงบสุข ความร่มรื่น ความแจ่มใส ความเป็นระเบียบ สิ่งแวดล้อมที่ดีที่น่าภาคภูมิใจนั้น เราทุกคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ยากดีมีจน สามารถสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์แห่งตนและผู้อื่น ชุมชนและประเทศชาติได้
- เพื่อให้มีแหล่งการเรียนรู้ ทั้งจากสิ่งแวดล้อม จากการปฏิบัติจริงและจากครู อาจารย์ ข่าวสารข้อมูล กระจายอยู่ทั่วไปทั้งในเมือง นอกเมือง ทั้งชุมชนเล็ก ชุมชนใหญ่
- เพื่อให้แนวคิดเรื่องอุทยานการศึกษาซึมซาบเข้าไปในชีวิตจิตใจของประชาชนทุกเพศทุกวัย และเข้าไปในวิถีชีวิตขอความแจ่มใสจะขยายเข้าไปอยู่ในบ้านเรือน ครอบครัว และชุมชนทุกระดับปวงชน ความสะอาด ความเรียบง่าย ความร่มรื่น ความสวยงาม ความสงบ
วิธีดำเนินการ
- ประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับครู-อาจารย์ ผู้บริหาร ภิกษุ-สามเณร พระเถระ มหาเถรสมาคม และประชาชนทุกระดับ
- รัฐบาล สมาชิกรัฐสภา ถือเป็นนโยบายแห่งรัฐ เป็นเป้าหมายที่จะพัฒนาสถานที่ของรัฐ โดยเฉพาะโรงเรียน วัด ให้เป็นอุทยานการศึกษา โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และให้อิสระในการแปรความคิดออกมาให้เป็นรูปแบบ ทั้งนี้ให้มีเป้าหมายร่วมในเชิงแนวคิด คือ ความสงบ ความสะอาด ความเป็นระเบียบ ความแจ่มใส ความร่มรื่น และเป็นแหล่งความรู้และข้อมูล
- ส่งเสริมสนับสนุนตัวร่วมที่จำเป็นตามกำลัง นอกจากดำเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว อาจมีเรื่องแหล่งน้ำ ระบบน้ำดื่ม น้ำใช้ในโรงเรียน (ความร่มรื่นต้องอาศัยแหล่งน้ำ) เมล็ดหรือกล้าไม้ คัมภีร์/หนังสือ (รวมทั้งเครื่องมืออุปกรณ์การสื่อสารสมัยใหม่ วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ โทรสาร ฯลฯ)
- ส่งเสริมองค์กรในท้องถิ่น ให้มีกำลังความคิด กำลังความรู้ กำลังการตัดสินใจ โดยเฉพาะวัด โรงเรียน องค์กรเอกชน ความเป็นนิติบุคคลของสภาตำบล ฯลฯ
- จัดและส่งเสริมให้มีนระบบข้อมูล และระบบการนิเทศติดตามการให้ความยอมรับ การยกย่อง เช่น ให้มีการบันทึกข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์ ประวัติและแนวคิดในการพัฒนาอุทยานการศึกษาเป็นรายสถาบัน รายวัด รายโรงเรียน จัดให้มีหน่วยงานไปติดป้ายยกย่องว่า วัดแห่งนี้ สถาบันการศึกษาแห่งนี้ ได้รับการยกย่องให้เป็นอุทยานการศึกษา เป็นตัวอย่างแก่สถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้
ไม่มีความคิดเห็น