Column Right

การจัดการศึกษาผ่านเครือข่าย : Web-Based Instruction

บทนำ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าWeb-Based Instruction หรือที่เรียกกันว่า WBI นี้ ไม่ใช่ e-learning แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันในบางประการ ซึ่งท่านจะได้เรียนรู้โดยละเอียดในหัวข้อ การเรียนแบบ e-learning  ส่วน WBI : Web-Based Instruction ก็คือพัฒนาการจาก CAI (Computer Assisted Instruction)ที่ขยายขีดจำกัดจากการที่เป็นระบบการเรียนรู้ด้วยสื่อหรือไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Stand Alone ไปสู่เทคโนโลยีเครือข่ายออนไลน์ ผสมผสานกับวิธีการ  Online Learning สำหรับท่านที่เข้าใจหลักการของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI มาบ้างแล้ว จะพบว่า CAI เองก็มี option สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในแบบออนไลน์ได้ แต่ด้วยการที่ระบบ CAI พึ่งพาระบบปฏิบัติการเป็นฐานหลัก รวมถึงมวลรวมของ CAI จะมีขนาดใหญ่มาก การแสดงผลทำได้ช้า ทำให้การพัฒนา CAI ไปสู่การออนไลน์ ไม่เป็นที่นิยม WBI จึงเป็นระบบที่เข้ามาเติมเต็มในช่องทางนี้  หากศึกษาในเรื่องของ WBI โดยละเอียด ก็จะพบว่า ทั้ง CAI และ WBI ต่างก็มีหลัก หรือกระบวนการค่อนข้างคล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างตรงการใช้เทคโนโลยีมาเป็นฐาน ซึ่ง CAI จะใช้คุณลักษณะของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรือภายใต้ ระบบปฎิบัติการ ระบบโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกเขียนหรือพัฒนาขึ้น รวมถึงระบบเครือข่ายภายใน (Local Area Network : LAN) เป็นฐานหลักในการขับเคลื่อนเนื้อหา ส่วน WBI จะขับเคลื่อนผ่านเทคโนโลยีเว็บเป็นหลัก

ในช่วงเวลาในยุคนั้นเทคโนโลยีด้านเว็บเริ่มถูกนำมาใช้ในวงการศึกษามากยิ่งขึ้น โปรแกรมสร้างงานด้าน CAI หลายโปรแกรมต่างพัฒนาให้รองรับการแสดงผลผ่านออนไลน์ได้ (ซึ่งถือเป็น WBI สำเร็จรูป) แต่ด้วยข้อจำกัดที่เทคโนโลยีเว็บยังไม่สามารถส่งผ่านข้อมูลขนาดใหญ่ได้ ทำให้ WBI ประสบปัญหาการนำเสนอข้อมูลมัลติมีเดีย รวมถึงภาษา script คำสั่งพิเศษต่างๆ ที่ทำได้ช้ามากๆ ทำให้การใช้งาน WBI ในยุคต้นๆ ไม่ประสบผลเท่าที่ควร ในสมัยนั้นวงการศึกษายังคงยึด CAI เป็นเครื่องมือสำคัญของการศึกษาเรียนรู้ ส่วน WBI ในยุคนั้น ก็เป็นเพียงกระบวนการที่ใช้งานภายในสถาบันทางการศึกษาในลักษณะเครือข่ายภายใน ส่วนเครือข่ายภายนอกจะเป็นการแสดงผลของข้อมูลอักษรและภาพประกอบ โดยเน้นกระบวนการการเรียนรู้เนื้อหามากกว่ากระบวนการปฎิสัมพันธ์ ด้วยวิธีการเช่นนั้นได้กลายเป็นพัฒนาการทางการศึกษาที่ได้รับการยอมรับอีกรูปแบบที่มีคนนิยมใช้มาก ซึ่งก็คือ รูปแบบ Online Learning นั่นเอง
แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนา ทะลุขีดจำกัด การส่งผ่านข้อมูลมัลติมีเดีย ขนาดใหญ่ทำได้ด้วยความรวดเร็ว ทำให้ WBI ได้กลายเป็นอีกช่องทางสำคัญของการจัดการศึกษา
ความหมายการจัดการศึกษาผ่านเครือข่าย
การเรียนการสอนผ่านเว็บนี้เป็นการรวมกันระหว่างการศึกษา และการฝึกอบรมเข้าไว้ด้วยกันโดยให้ความสนใจต่อการใช้ในระดับ การเรียนที่สูงกว่าระดับมัธยมศึกษาสำหรับประโยชน์ทางการศึกษาแก่ผู้เรียนภายในประเทศไทย การเรียนการสอนผ่านเว็บถือเป็นรูปแบบใหม่ของการเรียนการสอนที่เริ่มนำเข้ามาใช้ ทั้งนี้นักการศึกษาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บไว้ดังนี้

Web-based instruction is teaching and learning supported by the attributes and resources of the Internet (Khan, 1997; Relan & Gillami, 1997). The groups below provide guidelines for how to best utilize Internet attributes and resources

กิดานันท์ มลิทอง(2543) ให้ความหมายว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการใช้เว็บในการเรียนการสอน โดยอาจใช้เว็บเพื่อนำเสนอบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติของวิชาทั้งหมดตามหลักสูตร หรือใช้เพียงการเสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อประกอบการสอนก็ได้ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะต่าง ๆ ของการสื่อสารที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การเขียนโต้ตอบกันทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และการพูดคุยสดด้วยข้อความและเสียงมาใช้ประกอบด้วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ใจทิพย์ ณ สงขลา (2542) ได้ให้ความหมายการเรียนการสอนผ่านเว็บว่าหมายถึง การผนวก คุณสมบัติไฮเปอร์มีเดียเข้ากับคุณสมบัติของเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทางและเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน (Learning without Boundary)

ถนอมพร เลาจรัสแสง (2544) ให้ความหมายว่า การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) เป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีปัจจุบัน กับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา โดยการสอนบนเว็บจะประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของ เวิลด์ ไวด์ เว็บ ในการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเว็บนี้อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้

ภาสกร เรืองรอง (2544) ได้ให้ความหมาย WBI (Web-based Instruction) คือ การเรียนการสอนผ่านเว็บ หรือการดำเนินการจัดสภาวะการณ์การเรียนการสอน ผ่านทางระบบเครือข่ายโดยมีการกำหนดเงื่อนไขและกิจกรรม

วิชุดา รัตนเพียร (2542) กล่าวว่าการเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการนำเสนอโปรแกรมบทเรียนบนเว็บเพจ โดยนำเสนอผ่านบริการเวิลด์ไวด์เว็บในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ออกแบบและสร้างโปรแกรมการสอนผ่านเว็บจะต้องคำนึงถึงความสามารถ และบริการที่หลากหลายของอินเทอร์เน็ต และนำคุณสมบัติต่างๆเหล่านั้นมาใช้เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนให้มากที่สุด

สุภาณี เส็งศรี (2543) ได้ให้ความหมาย WBI (Web-based Instruction) คือ บทเรียนที่สร้างขึ้นสำหรับการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยนำจุดเด่นของวิธีการให้บริการข้อมูลแบบ www มาประยุกต์ใช้ Web Base Instruction จึงเป็นบทเรียนประเภท CAI แบบ On-line คำว่า On-line ในที่นี้หมายความว่า ผู้เรียนเรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อผ่านเครือข่ายกับเครี่องแม่ข่ายที่บรรจุบทเรียน

คาน (Khan, Badrul,1997 : 6 อ้างอิงในรุจโรจน์ แก้วอุไร. 2543) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Web Based Instruction) ว่าหมายถึง วิธีการเรียนการสอนในรูปแบบไฮเปอร์มีเดีย(Hypermedia) ที่ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ(World Wide Web) เป็นสื่อในการสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้

คาน (Khan,1997) ได้ให้คำจำกัดความของการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) ว่าเป็นการเรียนการสอนที่อาศัยโปรแกรมไฮเปอร์มีเดียที่ช่วยในการสอน โดยการใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะและทรัพยากรอินเทอร์เน็ต (WWW) มาสร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมากมายตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ในทุกทาง

คาร์ลสันและคณะ (Carlson et al., 1998) กล่าวว่าการเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นภาพที่ชัดเจนของการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน กับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) ซึ่งก่อให้เกิดโอกาสที่ชัดเจนในการนำการศึกษาไปสู่ที่ด้อยโอกาส เป็นการจัดหาเครื่องมือใหม่ ๆ สำหรับส่งเสริมการเรียนรู้และเพิ่มเครื่องมืออำนวยความสะดวกที่ช่วยขจัดปัญหา เรื่องสถานที่และเวลา
แคมเพลสและแคมเพลส (Camplese and Camplese, 1998) ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนทั้งกระบวนการหรือบางส่วน โดยใช้เวิลด์ไวด์เว็บ เป็น สื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน เนื่องจากเวิลด์ไวด์เว็บมีความ สามารถในการถ่ายทอดข้อมูลได้หลายประเภทไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง จึงเหมาะแก่การเป็นสื่อกลาง ในการถ่ายทอดเนื้อหาการเรียนการสอน

คลาร์ก (Clark,1996) ได้ให้คำจำกัดความของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่าเป็นการเรียนการสอนรายบุคคลที่นำเสนอ โดยการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ หรือส่วนบุคคลและแสดงผลในรูปของการใช้เว็บบราวเซอร์

ดริสคอล (Driscoll,1997) ได้ให้ความหมายของอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนไว้ว่าเป็นการใช้ทักษะหรือความรู้ต่าง ๆ ถ่ายโยงไปสู่ที่ใดที่หนึ่งโดยการใช้เวิลด์ไวด์เว็บเป็นช่องทางในการเผยแพร่สิ่งเหล่านั้น
แฮนนัม (Hannum, 1998) กล่าวถึงการเรียนการสอนผ่านเว็บว่าเป็นการจัดสภาพการเรียน การสอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต บนพื้นฐานของหลักและวิธีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ

ลานเพียร์ (Laanpere, 1997) ได้ให้นิยามของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านสภาพแวดล้อมของเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในหลักสูตรมหาวิทยาลัย ส่วนประกอบการบรรยายในชั้นเรียน การสัมมนาโครงการกลุ่มหรือการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน หรืออาจเป็นลักษณะของหลักสูตรที่เรียนผ่านเวิลด์ไวด์เว็บโดยตรงทั้งกระบวนการเลยก็ได้

พาร์สัน (Parson,1997) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการสอนที่นำเอาสิ่งที่ต้องการส่งให้บางส่วนหรือทั้งหมดโดยอาศัยเว็บ โดยเว็บสามารถกระทำได้ในหลากหลายรูปแบบและหลายขอบเขตที่เชื่อมโยงกัน ทั้งการเชื่อมต่อบทเรียนวัสดุช่วยการเรียนรู้และการศึกษาทางไกล สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ติดตั้งไว้ได้โดยผ่านเครือข่าย

รีแลน และกิลลานิ (Relan and Gillani,1997) ได้ให้คำจำกัดความของเว็บในการสอนเอาไว้เช่นกันว่า เป็นการกระทำของคณะหนึ่งในการเตรียมการคิดในกลวิธีการสอน โดยกลุ่มคอนสตรัคติวิซึ่มและการเรียนรู้ในสถานการณ์ร่วมมือกัน โดยใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะและทรัพยากรในเวิล์ดไวด์เว็บ

จากนิยามและความคิดเห็นของนักวิชาการและนักการศึกษา ทั้งในต่างประเทศและภายใน ประเทศไทยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นสามารถสรุปได้ว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการจัดสภาพการเรียนการสอนที่ได้รับการออกแบบอย่างมีระบบ โดยอาศัยคุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ไวด์เว็บ มาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพ โดยอาจจัด เป็นการเรียนการสอนทั้งกระบวนการหรือนำมาใช้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการทั้งหมด และช่วยขจัดปัญหาอุปสรรคของการเรียนการสอนทางด้านสถานที่และเวลาอีกด้วย



ลักษณะเฉพาะที่สำคัญ
การเรียนการสอนผ่านเว็บจะต้องอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายและการสื่อสาร หรือระบบอินเทอร์เน็ตเป็นสำคัญ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บจะมีวิธีการใช้ใน 3 ลักษณะ (Doherty,1988) คือ
1. การนำเสนอ (Presentation)
เป็นไปในแบบเว็บไซด์ที่ประกอบไปด้วยข้อความ ภาพ ภาพกราฟฟิก ซึ่งสามารถนำเสนอได้อย่างเหมาะสมในลักษณะ ของสื่อ คือ
  1. การนำเสนอแบบสื่อทางเดียว เช่น เป็นข้อความ
  2. การนำเสนอแบบสื่อคู่ เช่น ข้อความภาพกราฟฟิก บางครั้งจะอยู่ในรูปแบบ PDF ผู้เรียนสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ (Jeanne,1996)
  3. การนำเสนอแบบมัลติมีเดีย คือ ประกอบด้วยข้อความ ภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียงและภาพยนตร์ หรือวีดีโอ (แต่ความเร็วจะไม่เร็วเท่ากับวีดีโอเทป)
2. การสื่อสาร (Communication)
การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ทุกวันในชีวิตซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอินเทอร์เน็ต โดยมีการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต หลายแบบ เช่น
  1. การสื่อสารทางเดียว โดยดูจากเว็บเพจ
  2. การสื่อสารสองทาง เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โต้ตอบกัน
3. การก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ (Dynamic Interaction)
เป็นคุณลักษณะสำคัญของอินเทอร์เน็ตประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ
  1. การสืบค้น
  2. การหาวิธีการเข้าสู่เว็บ
  3. การตอบสนองของมนุษย์ในการใช้เว็บ
การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะการจัดการเรียน ที่ผู้เรียนจะเรียนผ่านจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถเข้าสู่ระบบเครือข่ายเพื่อการศึกษาเนื้อหาบทเรียนจากที่ใดก็ได้ และผู้เรียนแต่ละคน สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอนหรือผู้เรียนคนอื่นๆได้ทันทีทันใด เหมือนการเผชิญหน้ากันจริงๆ หรือเป็นการส่งข้อความฝากไว้กับบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ในการติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนด้วยกันเองหรือกับผู้สอน

การเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือการเรียนรู้บนเว็บ กระทำได้หลายลักษณะ เช่นการทำโครงการร่วมกัน การแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันในกระดานข่าว การแสดงความคิดเห็นในกระทู้ทางวิชาการ การทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นกลุ่ม การทำโครงงานร่วมกัน เป็นการร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานในเรื่องที่สนใจร่วมกัน นอกจากนี้ วิธีการเรียนรู้บนเว็บมีประสิทธิผล คือ การเรียนรู้ร่วมกันบนเว็บ ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้เรียนทำงานด้วยกันเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มเล็ก เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของงานร่วมกัน ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบการเรียนรู้ของผู้อื่นเท่ากับของตนเอง

บทเรียนบนเครือข่าย หรือ WBI เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนามาจากรากฐานของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ซึ่งก็เป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่ยึดหลักการที่สำคัญที่เรียกว่า 4 Is อันได้แก่
  1. Information คือ ความเป็นสารสนเทศในตัวเอง
  2. Interactive การมีปฎิสัมพันธ์กับผู้เรียน 
  3. Individual คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง
  4. Interactive คือ การตอบสนองโดยทันที
โดยลักษณะของบนเรียนบนเครือข่าย WBI ที่พิเศษ แตกต่างไปจาก CAI ก็คือ WBI สามารถนำเสนอช่องทางเรียนรู้เพิ่มเติมได้ทันที โดยอาศัยคุณลักษณะของ web browser มีส่วนที่เอื้อต่อการติดต่อกันระหว่างผุ้เรียน กับผู้สอนได้โดยตรง ครูผู้สอนใช้ช่องทางการสื่อสารออนไลน์แนะนำสาระเนื้อหาเพิ่มเติม หรือแนะนำ หรือสอนเพิ่มเติมเพิ่มมากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว บทเรียนสามารถแก้ไข เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงสาระเนื้อหาได้ง่าย ทำให้รูปแบบของบทเรียนบนเครือข่าย เป็นอีกวิธีการหนึ่งของการศึกษาทางไกล และนับได้ว่า WBI เป้นรูปแบบการศึกษาที่มีความสำคัญ มีบทบาทต่อระบบการจัดการศึกษาในสังคมการเรียนรู้ผ่านระบบสารสนเทศในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น


ประเภท
ปัจจุบันรูปแบบการจัดการศึกษาหรือการเรียนการสอนบนเว็บที่เรียกว่า WBI ได้มีการพัฒนาออกไปหลากหลายรูปแบบ หลากหลายวิธีการ แต่ทั้งนี้ ยังอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายและการสื่อสารเป็นหลัก โดยนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย หลากหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป อาทิ
  • การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Learning : WBL)
  • เว็บฝึกอบรม(Web-Based Training : WBT)
  • อินเทอร์เน็ตฝึกอบรม (Inter-Based Training)
  • เวิล์ดไวด์เว็บช่วยสอน (WWW-Based Instruction) หรือชื่อ อื่นๆ อีก
แต่ชื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ Web-Based Instruction และ Web-Based Training


องค์ประกอบและการพัฒนา
ในการจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีรูปแบบ WBI/WBT จำเป็นต้องมีส่วนประกอบในการจัดอยู่หลายส่วน ได้แก่
  1. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่
    ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือในการแสดงสาระ ข้อมูลเนื้อหา ซึ่งก็คือตัวบทเรียน เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ อาทิ โทรศัพท์ หรือ ipad หรือ Galaxy Tab ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องมีระบบและคุณสมบัติในการแสดงผลด้านมัลติมีเดียที่สมบูรณ์ด้วย
  2. ระบบเครือข่าย
    นับเป็นส่วนสำคัญในการให้ผู้เรียนเชื่อมต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ ให้สามารถเข้าถึงฐานการเรียนรู้ออนไลน์ได้ ผ่านผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต (Internet service provider)
  3. โปรแกรมเว็บบราวเซอร์(Web Browser)
    โปรแกรม browser ที่สามารถแสดงผลได้ทั้งในรูปแบบข้อความ ภาพ ตอบสนองความเป็นมัลติมีเดียที่หลากหลาย อาทิ เสียง ภาพเคลื่อนไหว กระบวนการโต้ตอบ กระบวนการติดตามผู้เรียน ทั้งข้อมูล และหลักสูตรบทเรียน รวมถึงภาษาคำสั่ง และคุณลักษณะพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาจาวา หรือ Flash animation เป็นต้น
  4. ตัวบทเรียน(Content)
    ซึ่งต้องเป็นบทเรียนที่ถุกออกแบบสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยเแพาะ มีกระบวนการในการนำเสนอสาระเนื้อหาอย่างเป็นลำดับ
วิธีการเรียนรู้
การเรียนการสอนบนเว็บ (web-based instruction) เป็นการบูรณาการกันระหว่างเทคโนโลยีปัจจุบันกับ
กระบวนการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้และการแก้ปัญหาเรื่องข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา โดยการสอนบนเว็บจะประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ไวด์เว็บ ในการจัดการสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเว็บนี้ อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการสอน

การเรียนการสอนบนเว็บเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนทุกสถานที่ ทุกเวลา เป็นการส่งเสริมให้เกิด
ความเสมอภาคกันทางการศึกษาและส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการเรียนรู้ที่กระตือรือร้นและผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้

บทสรุป
แม้ว่า WBI จะมีพัฒนาการมาจาก CAI ที่เปี่ยมไปด้วยกระบวนการ หลักการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นระบบที่มีขั้นตอน มีการโต้ตอบกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันพบว่า Website ที่พัฒนา WBI จริงๆ มีน้อยมาก อันมีสาเหตุมาจาก WBI(ที่แท้จริง) ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเว็บ ที่หลากหลาย รองรับการเรียนรู้จากผู้เรียนที่มีความแตกต่าง กระบวนการออกแบบที่ต้องผนวกรวมกับจิตวิณญาณครู ลงไปในตัวระบบ WBI ต้องออกแบบระบบการช่วยเหลือ ส่วนสนับสนุนต่างๆ ที่พร้อมรองรับการร้องขอ และองค์ประกอบอื่นๆ อีก ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก จึงทำให้ผู้พัฒนาบทเรียนรูปแบบ WBI แท้ๆ มักมีน้อย ส่วนใหญ่ ที่พบนั้นจะอิงหลักการบางส่วนเท่านั้น และด้วยความยืดหยุ่นของ e-learning  จึงทำให้มีผู้พัฒนา e-learning มากกว่า WBI และหากเทคโนโลยีของ  LO (Learning Object) ได้มีการพัฒนาจนรองรับในการสร้าง content ได้ง่ายขึ้น LO ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้ ระบบ WBI กลับมาเป็นฐานการศึกษาเรียนรู้ที่เปี่ยมประสิทธิภาพอีกในอนาคต





ข้อดีของการจัดการเรียนบนเว็บ
 
     การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการจัดการเรียนการสอนผ่านบริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) นั้นมีข้อดีอยู่หลายประการ ดังที่ ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2544, หน้า 87-94) ได้กล่าวถึงข้อดีของการจัดการเรียนบนเว็บ โดยสรุปได้ ดังนี้
1. การเรียนบนเว็บเปิดโอกาสให้นักเรียนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่มีเวลาเข้าชั้นเรียนได้เรียน ในเวลาและสถานที่ๆ สามารถเข้าไปใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตได้ จึงช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ศึกษาของนักเรียนเป็นอย่างดี
2. การเรียนบนเว็บส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษา นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาในภูมิภาคหรือในประเทศหนึ่งสามารถที่จะศึกษา ถกเถียง อภิปรายกับอาจารย์ ครู ผู้สอน ซึ่งสอนอยู่ที่สถาบันการศึกษาในนครหลวงหรือในต่างประเทศได้
3. การเรียนบนเว็บช่วยส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บเป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งสามารถเข้ามาค้นคว้า หาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา
4. การเรียนบนเว็บช่วยทลายกำแพงของห้องเรียนไปสู่โลกกว้างแห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ สนับสนุนสิ่งแวดล้อมทางการเรียนที่เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับปัญหาที่พบในความเป็นจริง โดยเน้นให้เกิดการเรียนรู้ตามบริบทในโลกแห่งความเป็นจริง (Contextualization) และการเรียนรู้จากปัญหา (Problem-based Learning)
5. การเรียนบนเว็บเป็นวิธีการเรียนการสอนที่มีศักยภาพ เนื่องจากเว็บเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการรูปแบบใหม่ ช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดของแหล่งค้นคว้าแบบเดิมจากห้องสมุดที่มีทรัพยากรการศึกษาและเวลาที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลอย่างจำกัด เนื่องจากเว็บมีข้อมูลที่หลากหลายและเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการที่เว็บใช้การเชื่อมโยงในลักษณะของไฮเปอร์มีเดีย (สื่อหลายมิติ) จึงทำให้การค้นหาทำได้สะดวกและง่ายกว่าการค้นหาข้อมูลแบบเดิม
6. การเรียนบนเว็บสนับสนุนการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เนื่องจากเว็บเอื้ออำนวยให้เกิดการศึกษา กระตุ้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นได้ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง เช่น การให้นักเรียนร่วมมือกันในการทำกิจกรรมต่างๆ บนเครือข่าย การแสดงความคิดเห็นบนเว็บบอร์ดหรือการพบปะกับนักเรียนคนอื่นๆ อาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญในเวลาเดียวกันที่ห้องสนทนา เป็นต้น
7. การเรียนบนเว็บเอื้อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งอาจทำได้ 2 รูปแบบ คือ ปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนด้วยกันและ/หรือผู้สอน และปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนในเนื้อหาหรือสื่อการเรียนบนเว็บซึ่งลักษณะแรกนี้จะอยู่ในรูปของการเข้าไปพูดคุย พบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ส่วนในลักษณะหลังนั้นจะอยู่ในรูปแบบของการเรียนการสอน แบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบที่ผู้สอนได้จัดหาไว้
8. การเรียนบนเว็บเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ทั้งในและนอกสถาบัน จากในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก โดยสามารถติดต่อสอบถามปัญหา ขอข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจริงโดยตรง ซึ่งไม่สามารถทำได้ในการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยังประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย เมื่อเปรียบเทียบกับการติดต่อสื่อสารในลักษณะเดิมๆ
9. การเรียนบนเว็บเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานของตนสู่สายตาผู้อื่นอย่างง่ายดาย ทั้งนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะเพื่อนๆ ในชั้นเรียนหากแต่เป็นบุคคลทั่วไป จึงถือเป็นการสร้างแรงจูงใจภายนอกในการเรียนสำหรับนักเรียน นักเรียนจะพยายามผลิตผลงานที่ดีเพื่อไม่ให้เสียชื่อเสียงตนเอง นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้เห็นผลงานของผู้อื่น เพื่อนำมาพัฒนางานตนเองให้ดีขึ้น
10. การเรียนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้ทันสมัยได้อย่างสะดวกสบาย เนื่องจากข้อมูลบนเว็บมีลักษณะเป็นพลวัตร (Dynamic) นอกจากนี้การให้นักเรียนได้สื่อสารและแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ทำให้เนื้อหามีความยืดหยุ่นมากกว่าการเรียนการสอนแบบเดิม และเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของนักเรียนเป็นสำคัญ
11. การเรียนบนเว็บสามารถนำเสนอเนื้อหาในรูปของมัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ ภาพ 3 มิติ โดยผู้สอนและนักเรียนสามารถเลือกรูปแบบของการนำเสนอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทางการเรียน
อ้างอิง
- ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2544. “การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน.” วารสารศึกษาศาสตร์สาร 28 (1): 87-94.

คุณลักษณะสำคัญของ WBI.

คุณลักษณะสำคัญของเว็บซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนมี 8 ประการ ได้แก่
             1. มีปฏิสัมพันธ์ (interact) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับเนื้อหาบทเรียน
       
             2. นำเสนอเนื้อหาในรูปแบบของสื่อประสม (multimedia)
       
             3. เป็นระบบเปิด (open System) ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้มีอิสระในการเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วโลก
       
             4. มีทรัพยากรเพื่อการสืบค้นออนไลน์ (online search / resource)
       
             5. ไม่มีข้อจำกัดทางสถานที่และเวลาของการสอนบนเว็บ ผู้เรียนที่มีคอมพิวเตอร์ในระบบใด ก็สามารถต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้ และเข้าเรียนจากที่ใดก็ได้ในเวลาใดก็ได้ 
       
             6. อนุญาตให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียน (learner controlled) ผู้เรียนสามารถเรียนตามความพร้อม
       
             7. เว็บมีความสมบูรณ์ในตัวเองทำให้เราสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนทั้งหมดผ่านเว็บได้ 
       
             8. อนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารทั้งแบบเวลาเดียว (synchronous communication) เช่น Chat และแบบต่างเวลากัน (asynchronous communication) เช่น Web Board เป็นต้น


รูปแบบของการสอนของ WBI.


การสอนบนเว็บสามารถใช้ได้กับทุกสาขาวิชา โดยอาจเป็นการใช้เว็บเพื่อสอนวิชานั้นทั้งหมด หรือเพื่อใช้ประกอบเนื้อหาวิชาได้ การสอนบนเว็บแบ่งได้ 3 รูปแบบ ดังนี้

วิชาเอกเทศ (stand-alone course หรือ web-based course) เป็นวิชาที่เนื้อหาและทรัพยากรทั้งหมด จะมีการนำเสนอบนเว็บ รวมถึงการสื่อสารกันเกือบทั้งหมด ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนจะผ่านทางคอมพิวเตอร์ การใช้รูปแบบนี้สามารถใช้ได้กับวิชาที่ผู้เรียนนั่งเรียนอยู่ในสถาบันการศึกษา และส่วนมากแล้วจะใช้ในการศึกษาทางไกล โดยผู้เรียนจะลงทะเบียนเรียน และมีการโต้ตอบกับผู้สอนและผู้เรียนร่วมชั้นคนอื่น ๆ ผ่านทางการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ผู้เรียนในทุกส่วนของโลก สามารถเรียนร่วมกันได้โดยไม่มีขีดจำกัดในเรื่องของสถานที่และเวลา

วิชาใช้เว็บเสริม (web supported course) เป็นการที่ผู้สอนและผู้เรียนจะพบกันในสถาบันการศึกษา แต่ทรัพยากรหลาย ๆ อย่าง เช่น การอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียนและข้อมูลเสริม จะอ่านจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการที่ผู้สอนกำหนดมาให้หรือที่ผู้เรียนหาเพิ่มเติม


ทรัพยากรการสอนบนเว็บ (web Pedagogical resource) เป็นการนำเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวิชานั้น หรือใช้เป็นกิจกรรมการเรียนของวิชา ทรัพยากรเหล่านี้จะอยู่ในหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง การติดต่อระหว่างผู้เรียนกับเว็บไซต์ ฯลฯ

ข้อดี-ข้อจำกัดของ WBI.

ข้อดี


1. ขยายขอบเขตของการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกหนทุกแห่ง จากห้องเรียนปกติไปยังบ้าน และที่ทำงาน ทำให้ไม่เสียเวลาในการเดินทาง

2. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนรอบโลกในสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ร่วมมือกันได้มีโอกาสเรียนรู้พร้อมกัน

3. ผู้เรียนควบคุมการเรียนตามความต้องการ และความสามารถของตนอง

4. การสื่อสารโดยใช้ อีเมล์ กระดานข่าว การพูดคุยสด ฯลฯ ทำให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวาขึ้นกว่าเดิม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนช่วยเหลือกันในการเรียน


5. กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการสื่อสารในสังคม และก่อให้เกิดการเรียนแบบร่วมมือ ซึ่งที่จริงแล้ว การเรียนแบบร่วมมือสามารถขยายขอบเขตจากห้องเรียนหนึ่งไปยังห้องเรียนอื่น ๆ ได้โดยการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ต

6. การเรียนด้วยสื่อหลายมิติทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาได้ตามสะดวกโดยไม่ต้องรียงลำดับกัน

7. ข้อมูลของหลักสูตรและเนื้อหารายวิชาสามารถหาได้โดยง่าย

8. การเรียนการสอนมีให้เลือกทั้งแบบประสานเวลา คือเรียน และพบกับผู้สอนเพื่อปรึกษา หรือถามปัญหาได้ในเวลาเดียวกัน (synchronous) และแบบต่างเวลา (asynchronous) คือเรียนจากเนื้อหาในเว็บ และติดต่อผู้สอนทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

9. ส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บเป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
10. สามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และตลอดเวลา การสอนบนเว็บตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้ รวมทั้งมีทักษะในการตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (meta-cognitive skills) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

11. การสอนบนเว็บเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ของสถานการณ์จำลอง ทั้งนี้เพราะสามารถใช้ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ ภาพ 3 มิติ ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงได้

ข้อจำกัด

1. การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นยังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการ อื่น ๆ ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวน และขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่างๆ

2. การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น

3. เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า จึงมีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้

4. ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียงตามขั้นตอน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้

โปรแกรมที่นิยมใช้ในการผลิต WBI.

ภาษา HTML (hyper text markup language) เป็นภาษาที่ใช้ในการพัฒนาบทเรียนบนเว็บ เพื่อให้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ต่าง ๆ สามารถแปลงคำสั่ง และแสดงผลเป็นรูปภาพ เสียง หรือข้อมูลได้

ไฟล์ของภาษา HTML จะเป็นไฟล์ Text ที่มีนามสกุลเป็น .html (ASCII Text Files) โดยไฟล์ของภาษา HTML จะประกอบไปด้วย คำสั่ง (Tags) หลายคำสั่งประกอบกันเป็นโครงสร้างไฟล์ สำหรับการเขียนหรือสร้างไฟล์ HTML จะประกอบไปด้วยโปรแกรม 2 โปรแกรม คือ

โปรแกรมสร้างเว็บ เช่น HTML ร่วมกับภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ASP, .NET, PHP, PERL เป็นต้น

โปรแกรมสำเร็จรูป โดยโปรแกรมจะถูกออกแบบมาให้จัดการด้านลงทะเบียน โต้ตอบ เว็บบอร์ด เพียงแต่ผู้เรียนรู้การใช้งาน และเพิ่มเติมเนื้อหาลงไป เช่น โปรแกรม Blackboard เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น

new story

Recent Posts Widget