Column Right

1.3 ลักษณะและรูปแบบการนำเสนอ

ตอนที่ 1 ขั้นตอนและกระบวนการนำเสนอ
1.3 ลักษณะและรูปแบบการนำเสนอ
 


เป็นที่ทราบกันดีว่ามนุษย์สามารถรับรู้สาระ เรื่องราวได้ดีที่สุดผ่านระบบประสาททางตา (75%) รองลงมาก็คือทางการได้ยินผ่านหู (13%) แต่คนเราจะจำได้เพียง 20% ของสิ่งที่ได้เห็น และจำเพียง 30% ของสิ่งที่ได้ยิน แต่ถ้าหากตั้งใจรับทั้งการได้ยินและประทับใจสิ่งที่ได้เห็น มนุษย์จะจำได้สูงถึง 70% เลยทีเดียว ดังนั้น หากเราสามารถสร้างสรรกระบวนการนำเสนอที่ดี ผ่านการรับรู้ด้วยตาและหู (Audio & Visual) ก็ถือเป็นกระบวนการการถ่ายทอดหรือการสื่อสารผ่านพลังของการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ


รูปแบบของการนำเสนอในปัจจุบัน พอสรุป โดยภาพรวมจะมี 3 วิธีการ คือ


1.มีผู้นำเสนอเป็นหลัก
ลักษณะการถ่ายทอดจะอยู่ที่ตัวคนหรือผู้นำเสนอ(พูด) เป็นสำคัญ รูปแบบมักจะเป็นการปาฐกถา การกล่าวเปิดประชุม การบรรยายก่อนการประชุมสัมมนา เป็นต้น การนำเสนออาจจะมีการใช้เอกสารประกอบ (Handout) เป็นส่วนร่วมในการนำเสนอด้วยก็ได้


2.มีผู้นำเสนอและใช้สื่ออุปกรณ์
การถ่ายทอดรูปแบบนี้แม้จะใช้คนเป็นผู้นำเสนอเป็นหลักเช่นแบบแรก แต่มีการผสมผสานด้วยสื่อกลางที่เป็นภาพนิ่งหรือมัลติมีเดียผ่านอุปกรณ์ เครื่องมือ เป็นการนำเสนอที่เพิ่มมุมมอง ความน่าสนใจ นอกจากนี้อาจจะมี เอกสารประกอบ (Handout) การบรรยายหรือการนำเสนอด้วย


3.นำเสนอในรูปของนิทรรศการ
การนำเสนอแบบนี้ตัว Display จะเป็นสื่อหลักในการถ่ายทอดสาระความรู้ หากนิทรรศการมีความต่อเนื่องอาจใช้เส้นนำทาง หรือช่องทางบังคับเป็นส่วนพาผู้ชมได้เรียนรู้เนื้อหาไปตามลำดับ โดยการนำเสนอเช่นนี้อาจจะมี การบรรยายเพิ่มเติมด้วยวิทยากร หรือการให้ข้อมูลผ่านเสียง หรือผ่านการแสดง หรือผ่านสื่อประกอบอื่นๆร่วม อาทิ สื่อเสมือนจริง ของจริง สื่อวิดีทัศน์ หรือเอกสารประกอบ

เรื่องราวของการนำเสนอ ยังมีอีกหลายมุมมอง ซึ่งจะได้นำมาให้เรียนรู้กันอย่างต่อเนื่องในโอกาสต่อไป
หมายเหตุ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ การบรรยาย หลักสูตร เทคนิคการนำเสนอและการสรุปงาน มี 3 ส่วน คือ (1)
ขั้นตอนและกระบวนการนำเสนอ (2) เทคนิคการสร้างและพัฒนาสื่อเพื่อการนำเสนอ  และ (3) การเป็นผู้พูด(นำเสนอ) และการบรรยายสรุปที่ดี

ไม่มีความคิดเห็น

new story

Recent Posts Widget