แนะนำเทคนิคการสร้างสื่อด้วย Microsoft PowerPoint ให้น่าสนใจ ตอนที่ 3
พบกันอีกในตอนที่ 3 ซึ่งตอนนี้ จะเป็นตอนจบของเรื่องนี้ คราวก่อน ใน 2 ตอนก่อน คงมีส่วนทำให้ท่านได้สร้างสื่อที่น่าสนใจ ในบทความนี้ เรามีข้อแนะนำเพิ่มขึ้นอีก เชิญติดตามต่อได้เลย
11. ภาพประกอบที่ดีตรงเนื้อหามีคุณค่าต่อสไลด์ (Picture is BIG presenting : Explain the Pictures to the audience)
รูปภาพหรือกราฟิกที่เลือกใช้ หากเป็นภาพที่สามารถอธิบายความหมายของเนื้อหาในไสลด์ หรือเรื่องราวที่กำลังนำเสนอได้จะเป็นส่วนเพิ่มความเข้าใจ ในมุมมองของผู้รับฟังให้มีความเข้าใจที่ตรงกันได้อย่างรวดเร็ว และมีพลังต่อการนำเสนอ
12. ภาพประกอบที่สมดุลย์มีคุณค่าต่อสไลด์ (Picture is BIG presenting: Make it match you slide)
ถึงแม้ว่า PowerPoint จะยินยอมให้ท่านปรับแก้ไชขนาดภาพไม่ว่าจะเป็นการ Crop ภาพ หรือการปรับเปลี่ยนขนาด resize ได้โดยอิสระก็ตาม
แต่ให้ทราบเถอะว่าหากท่านไม่ให้ความสำคัญต่อความสมดุลย์ของภาพ ภาพที่ท่านนำมาประกอบอาจขาดพลัง หรือกลายเป็นภาพที่ไร้ความหมายไปเลย
13. ตารางหรือกราฟกับสีฉากหลัง (Table and Form : remember that White Background and Black Text is BAD)
ในการนำเสนอในบางเรื่องที่ต้องนำกราฟหรือตารางข้อมูลมาแสดง แม้ว่าจะสำคัญก็ตาม แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ตารางข้อมูลที่มีบรรทัดมากๆ รวมถึงการใช้ตัวอักษรสีบนพื้นฉากหลังสีขาวเพราะสีขาวเมื่อฉายผ่าน Projector แล้ว จะส่งผลให้ตัวอักษรสีดูฟุ้ง จงเชื่อเถิดว่าหากนำมาประกอบแล้วผู้ชมไม่สามารถอ่านได้ มันก็ไม่มีคุณค่าอะไรเลย
หลีกเลี่ยงข้อมูลที่มาก ลองปรับปรุงข้อมูลในตาราง หรือแผนภูมิให้ดูมีมิติ ด้วยสีสัน หรือปรับเสริมด้วย Animation เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ ลองทำเป็นกราฟ 3 มิติ แบบนี้ นอกจากจะมีสีสันสวยงาม ความเป็นมิติ ยังช่วยเน้นความน่าสนใจด้วย หากแต่งเติมเพิ่มการเคลื่อนไหวด้วยก็ จะเป็นส่วนตรึงความรู้สึก เพิ่มความจำให้กับผู้ชมด้วย
14. ภาพประกอบที่ดีตรงเนื้อหามีคุณค่าต่อสไลด์ (Picture is BIG presenting: Explain the Pictures to the audience)
โปรแกรม PowerPoint มีความยืดหยุ่นต่อการนำเสนอสูง รองรับการนำสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ (วิดีโอ) ได้ แต่การเลือกใช้งานท่านต้องคำนึงถึงความสามารถในการแสดงผลของเครื่องคอมพิวเตอร์และการเข้ากันได้ต่อการแสดงผลบนจอภาพผ่านเครื่อ Projector ด้วย
เพราะมีหลายงานที่แสดงผลได้ดีบนคอมพิวเตอร์ แต่ไม่สามารถแสดลผลผ่านจอ Projector ได้ หรือ ไม่สามารถแสดงผลต่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
15. เก็บภาพฉากหลัง ฟอนต์พิเศษและองค์ประกอบเฉพาะไปกับสไลด์ (Keep your backgrounds/font/ multimedia/headings to different machine)
หากสไลด์ PowerPoint ของท่านมีองค์ประกอบพิเศษเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์วิดีโอ ก็ขอให้นำไปพร้อมกับไฟล์นำเสนอด้วย ที่สำคัญต้องนำไปลองทดสอบกับเครื่องที่ใช้ในการนำเสนอบนเวทีก่อนแสดงจริง แต่สิ่งที่ท่านต้องทราบและยอมรับตรงนี้ก่อนว่า เป็นวิธีการที่ค่อนข้างเสี่ยงที่สุด ทางที่ดีควรนำเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ตัวเก่งของท่านไปด้วยจะปลอดภัยที่สุด
ในส่วนของฟอนต์ ขอแนะนำให้ใช้ฟอนต์มาตรฐานสากลเป็นสิ่งปลอดภัยมากที่สุด แม้ว่าฟอนต์ที่ท่านสร้างในเฟรมสไลด์จะสุดยอด แต่หากใช้ข้ามเครื่องไม่เจอฟอนต์ที่ท่านใช้ ระบบจะนำฟอนต์ระบบไม่ว่าจะเป็นฟอนต์ System หรือ Tahoma มาให้แทน ผลก็คือ อาจทำให้ฟอนต์แตกต่างไปและตกบรรทัด
16. สีเพี้ยนเชิงเทคนิคจากเครื่องฉาย (Color Kill Presenter)
แม้ว่ารายละเอียดของสีที่ท่านออกแบบบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะลงตัวดูดี แต่ในความเป็นจริงพบว่าเมื่อฉายสู่จอผ่านเครื่อง Projector โดยเฉพาะประเภท DLP (Digital Light Processing) ซึ่งเป็นเรื่องเชิงเทคนิคที่ไม่สามารถควบคุมหรือแก้ไขได้
ส่งผลให้สีบางสีอาจผิดเพี้ยนไปจากที่ออกแบบไว้ โดยเฉพาะสีเขียว ฟ้า สีเหลือง สีชมพู และม่วง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้สีดังกล่าวกับฟอนต์ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ ก็ไม่ควรใช้สีเหล่านั้นใกล้กัน ควรสลับสีตรงข้าม อาทิ สีแดง น้ำเงิน เป็นต้น
และในส่วนของภาพประกอบที่นำมาใช้ในสไลด์ แม้ว่าอาจจะไม่สามารถแก้ไขได้ แต่เชื่อเถิดว่า เมื่อปรากฏบนจอ ผู้ชมการบรรยายของท่านก็ยังพอสื่อความหมายได้
เป็นอย่างไรบ้าง 16 เทคนิคเล็กๆ ในการสร้างสื่อเพื่อการนำเสนอด้วย Microsoft PowerPoint ให้น่าสนใจ บนบล็อกแห่งนี้ ยังมีเรื่องราว อันจะนำพาไปสู่การสร้างสื่อที่มีคุณภาพอีกหลากหลายเรื่อง
11. ภาพประกอบที่ดีตรงเนื้อหามีคุณค่าต่อสไลด์ (Picture is BIG presenting : Explain the Pictures to the audience)
รูปภาพหรือกราฟิกที่เลือกใช้ หากเป็นภาพที่สามารถอธิบายความหมายของเนื้อหาในไสลด์ หรือเรื่องราวที่กำลังนำเสนอได้จะเป็นส่วนเพิ่มความเข้าใจ ในมุมมองของผู้รับฟังให้มีความเข้าใจที่ตรงกันได้อย่างรวดเร็ว และมีพลังต่อการนำเสนอ
12. ภาพประกอบที่สมดุลย์มีคุณค่าต่อสไลด์ (Picture is BIG presenting: Make it match you slide)
ถึงแม้ว่า PowerPoint จะยินยอมให้ท่านปรับแก้ไชขนาดภาพไม่ว่าจะเป็นการ Crop ภาพ หรือการปรับเปลี่ยนขนาด resize ได้โดยอิสระก็ตาม
แต่ให้ทราบเถอะว่าหากท่านไม่ให้ความสำคัญต่อความสมดุลย์ของภาพ ภาพที่ท่านนำมาประกอบอาจขาดพลัง หรือกลายเป็นภาพที่ไร้ความหมายไปเลย
13. ตารางหรือกราฟกับสีฉากหลัง (Table and Form : remember that White Background and Black Text is BAD)
ในการนำเสนอในบางเรื่องที่ต้องนำกราฟหรือตารางข้อมูลมาแสดง แม้ว่าจะสำคัญก็ตาม แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ตารางข้อมูลที่มีบรรทัดมากๆ รวมถึงการใช้ตัวอักษรสีบนพื้นฉากหลังสีขาวเพราะสีขาวเมื่อฉายผ่าน Projector แล้ว จะส่งผลให้ตัวอักษรสีดูฟุ้ง จงเชื่อเถิดว่าหากนำมาประกอบแล้วผู้ชมไม่สามารถอ่านได้ มันก็ไม่มีคุณค่าอะไรเลย
หลีกเลี่ยงข้อมูลที่มาก ลองปรับปรุงข้อมูลในตาราง หรือแผนภูมิให้ดูมีมิติ ด้วยสีสัน หรือปรับเสริมด้วย Animation เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ ลองทำเป็นกราฟ 3 มิติ แบบนี้ นอกจากจะมีสีสันสวยงาม ความเป็นมิติ ยังช่วยเน้นความน่าสนใจด้วย หากแต่งเติมเพิ่มการเคลื่อนไหวด้วยก็ จะเป็นส่วนตรึงความรู้สึก เพิ่มความจำให้กับผู้ชมด้วย
14. ภาพประกอบที่ดีตรงเนื้อหามีคุณค่าต่อสไลด์ (Picture is BIG presenting: Explain the Pictures to the audience)
โปรแกรม PowerPoint มีความยืดหยุ่นต่อการนำเสนอสูง รองรับการนำสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ (วิดีโอ) ได้ แต่การเลือกใช้งานท่านต้องคำนึงถึงความสามารถในการแสดงผลของเครื่องคอมพิวเตอร์และการเข้ากันได้ต่อการแสดงผลบนจอภาพผ่านเครื่อ Projector ด้วย
เพราะมีหลายงานที่แสดงผลได้ดีบนคอมพิวเตอร์ แต่ไม่สามารถแสดลผลผ่านจอ Projector ได้ หรือ ไม่สามารถแสดงผลต่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
15. เก็บภาพฉากหลัง ฟอนต์พิเศษและองค์ประกอบเฉพาะไปกับสไลด์ (Keep your backgrounds/font/ multimedia/headings to different machine)
หากสไลด์ PowerPoint ของท่านมีองค์ประกอบพิเศษเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์วิดีโอ ก็ขอให้นำไปพร้อมกับไฟล์นำเสนอด้วย ที่สำคัญต้องนำไปลองทดสอบกับเครื่องที่ใช้ในการนำเสนอบนเวทีก่อนแสดงจริง แต่สิ่งที่ท่านต้องทราบและยอมรับตรงนี้ก่อนว่า เป็นวิธีการที่ค่อนข้างเสี่ยงที่สุด ทางที่ดีควรนำเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ตัวเก่งของท่านไปด้วยจะปลอดภัยที่สุด
ในส่วนของฟอนต์ ขอแนะนำให้ใช้ฟอนต์มาตรฐานสากลเป็นสิ่งปลอดภัยมากที่สุด แม้ว่าฟอนต์ที่ท่านสร้างในเฟรมสไลด์จะสุดยอด แต่หากใช้ข้ามเครื่องไม่เจอฟอนต์ที่ท่านใช้ ระบบจะนำฟอนต์ระบบไม่ว่าจะเป็นฟอนต์ System หรือ Tahoma มาให้แทน ผลก็คือ อาจทำให้ฟอนต์แตกต่างไปและตกบรรทัด
16. สีเพี้ยนเชิงเทคนิคจากเครื่องฉาย (Color Kill Presenter)
แม้ว่ารายละเอียดของสีที่ท่านออกแบบบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะลงตัวดูดี แต่ในความเป็นจริงพบว่าเมื่อฉายสู่จอผ่านเครื่อง Projector โดยเฉพาะประเภท DLP (Digital Light Processing) ซึ่งเป็นเรื่องเชิงเทคนิคที่ไม่สามารถควบคุมหรือแก้ไขได้
ส่งผลให้สีบางสีอาจผิดเพี้ยนไปจากที่ออกแบบไว้ โดยเฉพาะสีเขียว ฟ้า สีเหลือง สีชมพู และม่วง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้สีดังกล่าวกับฟอนต์ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ ก็ไม่ควรใช้สีเหล่านั้นใกล้กัน ควรสลับสีตรงข้าม อาทิ สีแดง น้ำเงิน เป็นต้น
และในส่วนของภาพประกอบที่นำมาใช้ในสไลด์ แม้ว่าอาจจะไม่สามารถแก้ไขได้ แต่เชื่อเถิดว่า เมื่อปรากฏบนจอ ผู้ชมการบรรยายของท่านก็ยังพอสื่อความหมายได้
เป็นอย่างไรบ้าง 16 เทคนิคเล็กๆ ในการสร้างสื่อเพื่อการนำเสนอด้วย Microsoft PowerPoint ให้น่าสนใจ บนบล็อกแห่งนี้ ยังมีเรื่องราว อันจะนำพาไปสู่การสร้างสื่อที่มีคุณภาพอีกหลากหลายเรื่อง
ไม่มีความคิดเห็น